1) ศูนย์วิจัยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุชีวภาพ (Innovative Food Packaging & Biomaterial Group)
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย IFP
- รวมกลุ่มนักวิจัยเพื่อหาทุนมาดำเนินการวิจัยด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร และวัสดุชีวภาพต่างๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาหรือเพิ่มศักยภาพด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนาหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ผู้ใช้งานจริง
- สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์รวมถึงโอกาสทางธุรกิจจากผลงานวิจัย
- สร้างความเข้มแข็งกลุ่มวิจัยเฉาะทางเพื่อเพิ่มโอกาสในการขอทุนวิจัย และมีเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ
เป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย IFP
- ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุชีวภาพและบรรจุภัณฑ์อาหารที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการและนโยบายของประเทศ
- ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการวิชาการด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการใช้ประโยชน์และการเพิ่มมูลค่าวัสดุทางชีวภาพ ให้กับผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุชีวภาพกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
- ผลิตบัณฑิต/สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความรู้และทักษะในการศึกษาวิจัยเฉพาะทาง ด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุชีวภาพ
- สร้างความเข้มแข็งงานวิจัยเฉพาะทาง ด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุชีวภาพให้กับมหาวิทยาลัย และสนองนโยบายของประเทศเรื่องการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศ
2) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Research Group of Postharvest Technology (PHT))
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตผลเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยว
เป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย PHT
- ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อสามารถนำไปแก้ปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการวิชาการด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวให้กับผู้ประกอบการเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการศึกษาวิจัยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
3) กลุ่มวิจัยระบบนิเวศเชิงบูรณาการเกษตรและเทคโนโลยี (Integrated AgriTech Ecosystem Research Group (IATE))
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย
- การบูรณาการด้านเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบการผลิตในแปลงปลูก
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจัดการโซ่ความเย็น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการกระจายสินค้า รวมทั้งโลจิสติกส์ด้านการเกษตร เพื่อลดความเสียหายและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน - เพื่อสร้างเกิดความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัย จากการสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกับภาคเอกชน เกษตรกร เน้นด้านเทคโนโลยีการเกษตรพืชสวน
เป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มวิจัย IATE
- สร้างความเชื่อมโยงงานวิจัยเชิงบูรณาการด้านเทคโนโลยีการเกษตรอย่างเป็นระบบตลอดโซ่อุปทานของผลิตผลเกษตร และจัดทำฐานข้อมูลด้านเกษตรขนาดใหญ่อย่างครบวงจร เพื่อลดความเสียหายและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน
- สร้างความร่วมมือทางวิจัยและวิชาการกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการเอกชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรอย่างเป็นระบบ
- ผลิตงานวิจัย นักวิจัยและบัณฑิตที่มีศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงบูรณาการตลอดโซ่อุปทานและสร้างความแข็งทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4) ศูนย์วิจัยการแปลงเป็นดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจ
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์วิจัย
- เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน process driven และ data driven เพื่อเพิ่มคุณค่าของห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจในอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสมัยใหม่สำหรับการสนับสนุน:
- ระบบการตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน
- การพัฒนาแพลทฟอร์มเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการตลาดของสินค้า
- การพัฒนากระบวนการผลิตและการกระจายสินค้า การพัฒนาระบบ smart contract การวิเคราะห์และจัดหา supply ในการผลิต
- การพัฒนาการผลิตวัตถุดิบโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตัล
- การวิเคราะห์ Big Data เพื่อการตัดสินใจและการวางแผนในระดับองค์กร
- เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและวิจัย ร่วมกับเครือข่ายวิจัยทั้งหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ