ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร พ.ศ. 2567
หลักสูตร วท.บ. โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร พ.ศ. 2567 มุ่งสร้างบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มมูลค่า และแก้ปัญหาในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมด้านเกษตและอาหารของประเทศ ที่ต้องการบุคลลากรที่องค์ความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านการบริหารจัดการ มีทักษะในการเชื่อโยงศาสตร์ทั้งสองด้านเพื่อใช้ในการทำงาน มีความสามารถทำงานได้หลากหลาย สามารถแก้ไขปัญหา และปรับตัวในการทำงานได้ในทุกภาคส่วนของโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร นอกจากนี้หลักสูตรฯ ยังสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับบัณฑิต มีองค์ความรู้และทักษะในการดำเนินงาน การจัดการธุรกิจ รวมไปถึงการสร้างธุรกิจใหม่ด้านเกษตรและอาหาร โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโลยีร่วมกับการจัดการธุรกิจ
เริ่มเปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่รอบ TCAS 1.2 เป็นต้นไป ที่ admission.mfu.ac.th
PLO 1: ประยุกต์ใช้ แนวคิด ทฤษฎีทางด้านวิทยาศาตร์ การจัดการโลจิสติกส์ ในการทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
PLO 2: เลือกใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการ เพื่อแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
PLO 3: เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการข้อมูล นำเสนอและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 4: ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรฐานสากล ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานผลิตผลเกษตรและอาหาร
PLO 5: แสดงออกถึงแนวคิดเชิงบูรณาการวิทยาศาสตร์ และการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน
PLO 6: แสดงออกถึงทักษะเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานเป็นทีม ในสังคมพหุวัฒนธรรม
แผนการศึกษา
1) วท.บ. โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร (แผนการศึกษาปกติ)
จุดเด่นของแผนการศึกษาปกติ
– สามารถจัดแผนการศึกษา ให้เรียนจบได้ภายใน 3.5 ปี
– ฝึกการสร้างธุรกิจระหว่างเรียน
– พัฒนาทักษะการทำงาน
– โอกาสฝึกงาน/แลกเปลี่ยนในต่างประเทศ
โครงสร้างหลักสูตร
2) วท.บ. โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร ควบกับ บธ.บ. วิชาเอก การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ควบปริญญาตรี 2 ปริญญา)
จุดเด่นของแผนการศึกษาควบ 2 ปริญญา
– เรียน 4 ปี ได้รับ 2 ปริญญา
– บูรณาการความรู้ทางเทคโนโลยีและการจัดการ เพื่อแก้ปัญหาในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
– สร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
– โอกาสฝึกงาน/แลกเปลี่ยนในต่างประเทศ
โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษาควบ 2 ปริญญา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ พ.ศ. 2562
นักศึกษารหัส 62-66
PLO 1: แสดงถึงจรรยาบรรและศีลธรรมทางวิชาชีพ ปฏิบัติตามกฏ และตระหนักรู้ทางสังคมสาธารณะ
PLO 2: แสดงถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และการจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
PLO 3: แสดงความสามารถในการระบุปัญหาในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้โดยใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและการจัดการโลจิสติกส์
PLO 4: แสดงความสามารถในการทำงานได้ในองค์กรระดับนานาชาติ หรือในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
PLO 5: แสดงถึงทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
PLO 6: แสดงถึงทักษะพร้อมทำงานที่จำเป็นในธุรกิจโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์
แผนการศึกษา
1) วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์
– โครงสร้างหลักสูตร
– แผนการศึกษา
2) วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ ควบกับ บธ.บ. วิชาเอก การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ควบปริญญาตรี 2 ปริญญา)
– โครงสร้างหลักสูตร
– แผนการศึกษา
ระดับปริญญาโท
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว พ.ศ. 2567
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากการบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม เพิ่มศักยภาพการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเป้าหมายในการลดสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มมูลค่าของผลิตผลเกษตรให้เป็นสินค้ามูลค่าสูงนำไปสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
PLO1: ประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
PLO2: ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการข้อมูลเพื่องานวิจัย
PLO3: สร้างผลงานวิจัยหรือสร้างสิ่งใหม่ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในระดับชาติหรือนานาชาติ
PLO4: ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม จริยธรรมทางวิชาการและการวิจัย
PLO5: แสดงออกถึงการเป็นนักพัฒนาเชิงบูรณาการด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวมุ่งเน้นประเด็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จากการออกแบบเนื้อหาและพัฒนารายวิชาใหม่ด้าน SDGs และเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านการเรียนและงานวิจัยในการยกระดับสินค้าเกษตรท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง อีกทั้งสามารถพัฒนารายวิชาให้เป็นหลักสูตรระยะสั้นตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน ในการทำงานภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมและการเป็นพลเมืองโลก
แผนการศึกษา
1) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว (แผน 1.1)
2) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว (แผน 1.2)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว พ.ศ. 2562
PLO 1: มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา ยึดมั่นในความถูกต้อง และข้อกำหนดทางวิชาการ
PLO 2: มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งและเป็นระบบตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
PLO 3: มีความสามารถในการบูรณาการ การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ และสร้างสรรค์ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
PLO 4: มีความรับผิดชอบ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรม
PLO 5: มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันในสังคมดิจิทัล
PLO 6: มีความพร้อมในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว
แผนการศึกษา
1) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว (แผน ก 1)
2) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว (แผน ก 2)
3) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว (แผน ข)